เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน' ต่อมา เราเห็น
เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
คติมี 5 ประการนี้แล
บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า 'สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง' บุคคลนั้น
ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล ฉันใด เราก็กล่าวอุปไมยนี้ฉันนั้น
บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

พรหมจรรย์มีองค์ 4

[155] สารีบุตร เรารู้ยิ่งความประพฤติพรหมจรรย์1มีองค์ 4 คือ
1. เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ และเป็นผู้บำเพ็ญตบะอย่างยอดเยี่ยม
2. เราเป็นผู้ประพฤติถือสิ่งเศร้าหมอง และเป็นผู้ประพฤติถือสิ่ง
เศร้าหมองอย่างยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
1 พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย 12 ประการ คือ (1) ทาน การให้ (2) ไวยาวัจจะ
การขวนขวายช่วยเหลือ (3) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (4) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร (5)ธรรม-
เทศนา (6) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (7) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
(8) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ (9) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (10) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา (11) อัธยาศัย
(12) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงวิริยะ เหตุที่ตรัสพรหมจรรย์นี้ เพราะสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวี
เป็นผู้มีความเชื่อว่า 'บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการประพฤติทุกกรกิริยา' ทรงมุ่งขจัดความเชื่อนั้น (ม.มู.อ.
1/155/362-364)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :157 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

3. เราเป็นผู้ประพฤติรังเกียจ(บาป) และเป็นผู้ประพฤติรังเกียจบาป
อย่างยอดเยี่ยม
4. เราเป็นผู้ประพฤติสงัด และเป็นผู้ประพฤติสงัดอย่างยอดเยี่ยม

การบำเพ็ญตบะ

บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ 4 นั้น พรหมจรรย์ในการบำเพ็ญตบะของเรา คือ
เราเคยเป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับ
อาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับ
อาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ เรานั้นไม่รับอาหารจากปากหม้อ
ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อม
ท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน 2 คนที่กำลังบริโภคอยู่
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ
อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่
เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เรานั้นรับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพ
ด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน 2 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 2 คำ ฯลฯ
รับอาหารในเรือน 7 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 7 คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย
1 ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 2 ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย
7 ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 1 วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 2 วัน ฯลฯ
กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 7 วัน ถือการบริโภคอาหารตามวาระ 15 วันต่อมื้อ
เช่นนี้ อยู่ด้วยประการอย่างนี้
เรานั้นกินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :158 }